Last updated: 8 ต.ค. 2563 | 7725 จำนวนผู้เข้าชม |
ประเภทของสีสกรีน
วิธีการสกรีนลงบนเนื้อผ้า เริ่มจากการทำบล็อคสกรีนให้มีลวดลายตามที่ต้องการ แล้วนำสีสกรีนมาพิมพ์ผ่านลวดลายของบล็อคสกรีนลงบนเนื้อผ้า สีสกรีนก็จะลงเนื้อผ้าตามลวดลายตามที่ต้องการ หลักการนี้ถเรียกว่าระบบซิลค์สกรีน (Silk Screen)
สีที่สกรีนคือหัวใจหลักของการทำงานพิมพ์สกรีน สีแต่และประเภทก็มีวิธีทำงานแตกต่างกันไป ควรเลือกสีที่เหมาะกับชนิดงานมากที่สุด
1) สีเชื้อน้ำ
สีเชื้อน้ำเหมาะกับการพิมพ์ลงบนเนื้อผ้า เนื่องจากสีน้ำจะซึมเข้าไปในเนื้อผ้า ทำให้งานสกรีนดูเรียบเป็นเนื้อเดียวกันกับเนื้อผ้า สีเชื้อน้ำเป็นสีที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย ทำให้สีสามารถแห้งตัวได้เองที่อุณหภูมิห้องและไม่มีกลิ่นเหม็น สามารถแบ่งได้เป็นสามประเภทใหญ่คือ
1.1 สีจม สีเชื้อน้ำประเภทนี้จะซึมลงผ่านเส้นใยของเนื้อผ้า ทำให้ตัวสีและเนื้อผ้าดูเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีความนูนออกมาจากบริเวณเนื้อผ้า ซึ่งการสกรีนเสื้อด้วยสีเชื้อน้ำประเภทสีจมนี้ เหมาะสำหรับการใช้ในการสกรีนเสื้อสีอ่อน
1.2 สีลอย เป็นสีเชื้อน้ำที่มีคุณสมบัติตรงกันข้ามกับสีจม โดยสีลอยและไม่ซึมลงไปบนเส้นใยของเนื้อผ้า จึงทำให้เห็นเป็นรอยนูนๆ ขึ้นมา โดยเนื้อผ้าที่เหมาะสำหรับการสกรีนสีลอยนี้ ได้แก่ ผ้าสีโทนเข้มๆ
1.3 สียาง เป็นสีเชื้อน้ำประเภทนี้จะมีลักษณะคล้ายกับยางยืด ซึ่งทำให้เกิดความยืดหยุ่นในตัว มีความมันเงา สีประเภทนี้ถือเป็นสีที่นิยมนำมาใช้สกรีนเป็นจำนวนมาก
2) สีพลาสติซอล
เป็นสีที่ใช้อย่างแพร่หลายมากเนื่องจากสีชนิดนี้ให้ความทึบสีที่ดีบนผ้าเข้ม สีชนิดนี้สามารถพิมพ์งานได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นลายที่มีความละเอียดสูง หรือ ลายที่มีมีความละเอียดต่ำ โดยต้องใช้ความร้อนอย่างน้อย 150 องศาเซลเซียส ในการทำให้สีแห้งและเซทตัวอยู่บนเนื้อผ้า
20 เม.ย 2564
13 ส.ค. 2565