ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของถุงพลาสติก

Last updated: 20 ต.ค. 2563  |  31946 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของถุงพลาสติก

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของถุงพลาสติก

โลกของเรานั้นกำลังเต็มไปด้วยถุงพลาสติก ที่เราสามารถพบได้ทั่วไปทั้งในถังขยะตามบริเวณต่างๆ ขยะปริมาณมากที่ถูกฝังกลบ หรือแม้แต่ถุงพลาสติกที่ลอยอยู่ทั่วไปในทะเล ทำให้เกิดผลเสียต่อสิ่งมีชีวิตและเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เราทุกคนสามารถช่วยกันทำให้โลกที่เราอาศัยอยู่นั้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นโดยการเปลี่ยนมาใช้ถุงผ้าที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้และสามารถใส่สิ่งของที่จำเป็นได้ทุกสิ่งตั้งแต่หนังสือเล่มเล็กๆ ไปจนของใช้ที่จำเป็นจากร้านสะดวกซื้อ ที่แข็งแรงทนทานต่อการนำมาใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีก

 
ประวัติโดยย่อของถุงพลาสติกและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโลก

การที่เราจะตระหนักถึงประโยชน์และคุณค่าของถุงผ้าที่นำสามารถกลับมาใช้ซ้ำได้นั้น เราต้องเข้าใจถึงผลกระทบที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมของถุงพลาสติก ถุงพลาสติกแบบที่ใช้ได้ครั้งเดียวถูกผลิตและเริ่มนำมาใช้ในปี พศ 2508 โดยวิศวกรชาวสวิเดน Sten Gustaf Thulin ในช่วงเวลาไม่ถึง 50 ปีที่ผ่านมา ถุงพลาสติกนี้ได้ถูกใช้อย่างทั่วไปในซูเปอร์มาเก็ตทุกแห่งทั่วโลก ก่อนที่มีการรณณรงค์ให้เลิกใช้จาก 59 ประเทศทั่วโลกในปัจจุบัน

เนื่องจากถุงพลาสติกไม่ได้ถูกการนำกลับใช้ใหม่ เราจึงเห็นถุงพลาสติกถูกทิ้งทั่วไปตามท้องถนน ในป่าหรือในทะเล การทิ้งถุงพลาสติกอย่างไม่ถูกต้องและไม่เป็นที่เป็นทางส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงสิ่งมีชีวิตทั้งคนและสัตว์ ถุงพลาสติกจำนวนมากที่ถูกทิ้งในทะเลและฝังกลบนั้นกำลังเป็นทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด

มลภาวะทางน้ำ
เนื่องจากถุงพลาสติกไม่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้และไม่มีวันย่อยสลายอย่างแท้จริง พลาสติกจะมีรูพรุนที่เหลืออยู่ในโครงสร้างจำนวนมากทำให้สามารถกักเก็บน้ำที่ปนเปื้อนสารพิษไว้ในตัว และเมื่อถุงพลาสติกที่เต็มไปด้วยสารพิษถูกทิ้งลงไปในทะเล สารพิษเหล่านั้นก็จะปนเปื้อนไปในทะเลส่งผลเสียต่อสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตในท้องทะเล

การปนเปื้อน
การปนเปื้อนที่เกิดจากการย่อยสลายของพลาสติกในสภาวะการฝังกลบ อาจทำให้สารเติมแต่ง รวมถึงสีที่ตกค้างรั่วไหลปนเปื้อนไปกับแหล่งน้ำใต้ดิน

ประชากรยุงสูงขึ้น
ยุงจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศที่เปียกชื้นมีน้ำขังเพราะพวกมันต้องการน้ำเพื่อวางไข่ น้ำที่กักเก็บอยู่ในถุงพลาสติกช่วยให้ประชากรยุงเพิ่มขึ้นซึ่งอาจแพร่กระจายโรคได้

การสูญพันธุ์
ปริมาณออกซิเจนในน้ำที่น้อยลงอาจส่งผลให้ปลาตาย ทำให้เกิดผลกระทบแบบโดมิโน เมื่อปลาหมดไปสัตว์ที่กินปลาเป็นอาหารก็อาจตายได้เช่นกัน สิ่งนนี้สอดคล้องกับการที่อาหารน้อยลงส่งผลให้อัตราการความเจ็บป่วยสูงขึ้น ซึ่งนั่นไม่เป็นประโยชน์สำหรับสิ่งมีชีวิตใดๆ แน่นอนว่าสิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้นในชั่วข้ามคืนหรือเร็วๆ นี้ แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


 Background photo created by freepik - www.freepik.com

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้